แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)
แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)

แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)

ฝรั่งเศส
จักรวรรดิบริติช สหรัฐ
(หลังปี 1917)
 เบลเยียม
อิตาลี
(หลังปี 1915)[8]
 โปรตุเกส
(หลังปี 1916)[9]
รัสเซีย
(หลังปี 1917)[10]
สยาม[11] จักรวรรดิเยอรมัน
 จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีบทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งแนวรบด้านตะวันตก (อังกฤษ: Western Front) คือเขตสงครามหลักในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังสงครามอุบัติในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 กองทัพเยอรมันเปิดแนวรบด้านตะวันตกด้วยการบุกครองเบลเยียมและลักเซมเบิร์ก จากนั้นยังสามารถยึดครองแคว้นอุตสาหกรรมที่สำคัญของฝรั่งเศส ฝ่ายตั้งรับพลิกสถานการณ์ได้อย่างมากหลังยุทธการที่แม่น้ำมาร์น หลังการแข่งขันสู่ทะเล ทั้งสองฝ่ายต่างยึดที่มั่นตามแนวสนามเพลาะคดเคี้ยวและมีการเสริมความมั่นคงอย่างแน่นหนา ลากตั้งแต่ทะเลเหนือต่อเนื่องไปจนแนวชายแดนฝรั่งเศสด้านที่ติดกับสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยยกเว้นต้นปี 1917 และในปี 1918ระหว่างปี 1915 ถึง 1917 เกิดการบุกใหญ่หลายครั้งในแนวรบด้านนี้ มีการระดมยิงปืนใหญ่และการบุกโดยใช้ทหารราบปริมาณมาก อย่างไรก็ตามด้วยการปักหลักในที่มั่น การวางปืนกล รั้วลวดหนาม และปืนใหญ่ล้วนก่อให้เกิดกำลังพลสูญเสียใหญ่หลวงระหว่างการเข้าตีและการตีโต้ตอบซ้ำแล้วซ้ำเล่า ผลจึงไม่มีการบุกอย่างสำคัญ การบุกครั้งที่มีกำลังพลสูญเสียมากที่สุด ได้แก่ ยุทธการที่แวร์เดิง (ปี 1916) มีกำลังพลสูญเสียรวม 700,000 นาย (ประมาณการ), ยุทธการที่แม่น้ำซอม (ค.ศ. 1916) มีกำลังพลสูญเสียกว่า 1,000,000 นาย (ประมาณการ) และ ยุทธการที่ปอสเชินดาเลอ หรือยุทธการที่อีปส์ครั้งที่สาม (ปี 1917) มีกำลังพลสูญเสีย 487,000 นาย (ประมาณการ)เพื่อยุติภาวะอับจนของการสงครามสนามเพลาะในแนวรบด้านตะวันตก ต่างฝ่ายต่างทดลองเทคโนโลยีทางทหารใหม่ ๆ รวมทั้ง แก๊สพิษ อากาศยาน และรถถัง การใช้ยุทธวิธีที่ดีขึ้นและการอ่อนกำลังของกองทัพทั้งสองฝ่ายในแนวรบด้านตะวันตกทำให้สถานการณ์กลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้งในปี 1918 การรุกฤดูใบไม้ผลิของเยอรมันในปี 1918 เกิดขึ้นได้จากสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ที่ยุติการสู้รบในแนวรบด้านตะวันออกระหว่างฝ่ายมหาอำนาจกลางกับรัสเซียและโรมาเนีย กองทัพเยอรมันใช้การระดมยิงปืนใหญ่ "เฮอร์ริเคน" สั้น ๆ แต่เข้มข้น และยุทธวิธีแทรกซึม ทำให้สามารถเคลื่อนที่ไปได้เกือบ 100 กิโลเมตรทางทิศตะวันตก นับเป็นการบุกได้มากที่สุดนับแต่ปี 1914 แต่ผลไม่เด็ดขาดการบุกของฝ่ายสัมพันธมิตรที่หยุดไม่ได้ในการรุกร้อยวันปี 1918 ทำให้กองทัพเยอรมันล่มสลายอย่างฉับพลันและโน้มน้าวให้ผู้บังคับบัญชาฝ่ายเยอรมันเชื่อว่าหลีกเลี่ยงความปราชัยไม่พ้น รัฐบาลเยอรมันยอมจำนนในการสงบศึกวันที่ 11 พฤศจิกายน 1918 โดยมีการชำระสะสางเงื่อนไขสันติภาพในสนธิสัญญาแวร์ซายในปี 1919

แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่4 สิงหาคม 1914 – 11 พฤศจิกายน 1918<br (4 years, 3 months and 1 week)
สถานที่เบลเยียม, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส, อาลซัส-ลอแรน และภาคตะวันตกของเยอรมนี
ผลลัพธ์
สถานที่ เบลเยียม, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส, อาลซัส-ลอแรน และภาคตะวันตกของเยอรมนี
ผลลัพธ์
วันที่ 4 สิงหาคม 1914 – 11 พฤศจิกายน 1918<br (4 years, 3 months and 1 week)

แหล่งที่มา

WikiPedia: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง) http://aso.gov.au/ http://aso.gov.au/titles/collections/awm-western-f... http://www.awm.gov.au/atwar/ww1.htm http://www.vac-acc.gc.ca/general/sub.cfm?source=hi... http://www.firstworldwar.com/features/thailand.htm http://www.forgingtheanzacs.com/ http://www.greatwardifferent.com/Great_War/Contemp... http://rapidttp.com/milhist/vol072iu.html http://www.westernfront.nl/ http://www.nzhistory.net.nz/node/1216